พฤศจิกายน 24, 2024

NFT และ Collaboration ทางรอดของศิลปินไทยสู่โอกาสที่ไร้ขอบเขต

NFT และ Collaboration ทางรอดของศิลปินไทยสู่โอกาสที่ไร้ขอบเขต

ศิลปินไฟน์อาร์ตมารวมกันทางนี้………ถ้าคุณเป็นนักวาด ปาด ปั้นบนผืนผ้าใบ กระดาษ ไม้ ดิน หรือวัสดุจับต้องได้ใดๆ และไม่ว่าจะรุ่นใหญ่หรือรุ่นใหม่ วันนี้ยูโอบี ชวนคุณก้าวออกจาก Comfort Zone ไปสู่โลกศิลปะที่เปิดกว้างไร้ขอบเขต กวาดตัวจริงตัวท็อปในวงการมาแชร์ประสบการณ์จริงผ่านคลิปวิดีโอ Tutorial แบบเข้าใจง่ายใน 2 หัวข้อเกี่ยวกับการเข้าสู่ NFT และการ Collaboration ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ เรารวบรวมไว้ให้ครบจบที่นี่….

 

Fine Art in NFT World | ส่งอัตลักษณ์งานศิลป์สู่โลก NFT

โควิดพลิกโลกจนเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผัน ทุกวงการล้วนต้องปรับตัว ประทีป คชบัว ศิลปินเซอร์เรียลลิสม์รุ่นใหญ่เป็นตัวแทนของศิลปินที่พร้อมจะเปิดประตูบานใหม่ไปสู่โลก NFT โดยมี วัจนสินธุ์ จารวัฒนกิตติ คิวเรเตอร์ NFT Art ให้คำแนะนำพาผลงานไฟน์อาร์ตเข้าสู่ตลาดดิจิทัล ผ่าน 3 ขั้นตอนที่สามารถทำตามได้จริง

  • สมัคร แทบไม่มีศิลปินคนใดที่ไม่รู้จัก NFT เพราะสร้างปรากฏการณ์ซื้อขายผลงานศิลปะด้วยสกุลเงินดิจิทัลในมูลค่าสูงลิบ การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างแรกที่ต้องมีคือ กระเป๋าเงินคริปโท การชอปปิง NFT ต้องเลือกใช้กระเป๋าเงินที่เข้ากับเงินสกุล Ethereum เช่น MetaMask  พร้อมแล้วจึงไปเลือกตลาด NFT (Market Place) ซึ่งก็มีให้เลือกหลากหลาย อาทิ Opensea เราเพียงเชื่อมต่อ MetaMask บน market place ที่เลือกเราก็มีตัวตนในโลก NFT เรียบร้อย และเพื่อให้สามารถ Mint งานหรือการทำผลงานให้เป็น NFT จะมีค่าธรรมเนียม ซึ่งค่าธรรมเนียมทุกธุรกรรมบน Ethereum Blockchain เรียกว่า Gas Fee  ศิลปินควรแลกเงินราว 3,000-4,000 บาทเป็นคริปโทเพื่อใช้เป็นค่า Gas

 

การสร้าง Bio ที่สะท้อนตัวตนจะช่วยดึงดูดความสนใจนักชอปนักสะสม ศิลปินสามารถเลือกงานไฟน์อาร์ตมาแปลงเป็นผลงาน NFT ได้ง่ายๆ ด้วยการถ่ายภาพหรือสแกนให้มีความคมชัดสูงแล้วอัปโหลด ในขั้นตอนสุดท้ายศิลปินสามารถตั้งราคาและอนุมัติผลงานได้เอง

  • สร้างตัวตน โลกเปลี่ยนแต่ศิลปะไม่เปลี่ยน ในโลกดิจิทัลเอกลักษณ์ของผลงานยังคงมีความสำคัญ มาถอดบทเรียนจากประทีป คชบัว ว่าทำไมถึงยืนหนึ่งด้านศิลปะเซอร์เรียลลิสม์ การรู้จัก จุดขาย หรือ Selling Point จากประสบการณ์การทำงานในวงการโฆษณา แล้วใช้ Selling Point ในการทำงานศิลปะ ปรับใช้ทำให้งานโดดเด่น  การรู้จักตนเองว่าหลงใหลงานเหนือจริง สร้างงานอย่างพิถีพิถัน ชอบความยากที่ต้องใช้จินตนาการสูง เช่น จะไม่ชอบวาดมะม่วงสีเขียวเหลืองสุกสวย ถ้าวาดมะม่วงต้องมีก้าน มียาง มีมอนสเตอร์หรือมดซึ่งทั้งหมดจินตนาการขึ้นเอง ยิ่งยากยิ่งชอบไม่ทำงานลวกๆ ผลงานจึงทรงคุณค่าน่าสะสม

 

โน้ต วัจนสินธุ์แนะนำให้ศิลปินที่เข้าสู่ NFT ใหม่ๆ แม้ในโลกความจริงผลงานจะมีเอกลักษณ์และมีราคาสูง แรกเริ่มควรตั้งราคาไม่สูงมากอยู่ในหลักพันบาท ให้คนได้มีโอกาสเข้ามาเก็บสะสมได้ง่าย แล้วค่อยๆ ปรับราคาไต่ขึ้น จนในที่สุดแล้วราคาก็จะเท่ากับโลกความจริงหรือเท่าที่ต้องการ แล้วใช้หลักการตลาดเข้าช่วย มีโอกาสที่ผลงานจะเป็นที่ต้องการของตลาด และได้ราคาที่สูงกว่าโลกความจริง

  • โปรโมต การตลาดแบบดั้งเดิมศิลปินต้องใช้เวลานับ 10 ปี จัดแสดงผลงานไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง ศิลปินจึงจะเป็นที่รู้จัก แม้เป็นที่รู้จักแล้วก็ใช่ว่าจะขายผลงานได้ ปัจจุบันโอกาสเปิดกว้างมากศิลปินสามารถนำเสนอผลงานของตนเองในโลกดิจิทัลผ่านสื่อโซเซียล ทั้งนี้ โน้ต วัจนสินธุ์ก็ยังคงแนะนำให้ศิลปินแสดงผลงานในโลกความเป็นจริงควบคู่ไปด้วย เพื่อยืนยันตัวตนในโลกออนไลน์

 

ศิลปินในยุค NFT หยุดนิ่งไม่ได้ มีความยอดเยี่ยมด้านการวาดรูปอาจไม่เพียงพอ ต้องมีทักษะด้านการตลาด และทักษะภาษาเพิ่มเข้ามาให้สามารถสื่อสารกับนักสะสมชาวต่างชาติได้

 

 

The Art of Collaboration | รวมพลังสร้างสรรค์สู่อีกขั้นของงานศิลป์

ในยุคนี้เราเห็นสัญลักษณ์ X หรือการ Collab เต็มฟีดโซเซียล ก็ได้แต่สงสัยว่าศิลปินไฟน์อาร์ตจะ Collab กับแบรนด์หรือกับศิลปินท่านอื่นได้หรือไม่ ตอบเลยว่าทำได้แน่นอน ไปพบคำตอบกับศิลปินต้นแบบและผู้เชี่ยวชาญที่มาร่วมกันแชร์เคล็ดลับในการ Collaboration ให้ประสบความสำเร็จ

 

  • Collaboration สร้างมูลค่าเพิ่มให้ศิลปะ

โบว์-ปัณฑิตา มีบุญสบาย ศิลปินอิสระแนวจิตรกรรมร่วมสมัยเจ้าของฉายา ฝีแปรงเงินล้าน ผู้มีผลงานร่วมงานกับแบรนด์ดังมากมาย อาทิ โว้ค ในฐานะศิลปินสายแอนะล็อกเมื่อทำงานร่วมกับ      แบรนด์ เล่าว่า “ในการ Collaboration เราต้องเป็นน้ำในบางโอกาส แต่ความเป็นตัวตนต้องยังคงอยู่” การ Collab ทำให้รู้จักทำงานเป็นทีม จากปกติที่ดูเองแก้เองจบเอง โบว์จะวาดงานบนแคนวาสเมื่อต้องแก้ไขจะยากกว่าการทำบนไฟล์ดิจิทัล แต่ Texture ในงานของโบว์ก็เป็นเอกลักษณ์ที่คงอยู่ไม่ว่าจะ Collab กับแบรนด์ใด

เสริมคุณ คุณาวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานศิลปะและวัฒนธรรม และคร่ำหวอดในแวดวงศิลปะมายาวนาน “ความจริงการ Collab ของศิลปินมีมานาน เห็นได้จากการวาดโปสเตอร์หนัง จากงานศิลปะเป็นโปรดักซ์ มาเป็นแนวศิลปะ” การ Collaboration ถือเป็น movement ที่ดีของโลกศิลปะเพราะช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับศิลปะ

  • Collaboration สะท้อนตัวตนของศิลปินและแบรนด์

โตส-ปัญญวัฒน์ พิทักษวรรณ ศิลปินนักออกแบบศิลปะร่วมสมัยประสบความสำเร็จในการร่วมงานกับแบรนด์ระดับโลกอย่างอาดิดาส การ Collaboration เป็นเรื่องของการบอกเล่าตัวแบรนด์ผ่านชิ้นงานของศิลปิน เป็นการทำงานร่วมกันเป็นทีม ร่วมกันคิด วิจารณ์ แก้ไขงาน ซึ่งก็เป็นปัญหาหลักของศิลปินในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เมื่อถูกคอมเมนต์ให้แก้ไขจากแบรนด์ “การทำงานหรือแก้งานแต่ละครั้งจะต้องรู้สึกดีกับงาน มีความสุขในการทำงานในมุมที่เป็นตัวเอง” โตสแนะนำให้หาจุดร่วมคำนึงถึงแบรนด์และตัวตนของเราไปพร้อมกัน เพราะการทำงานกับแบรนด์ต้องคำนึงถึงหลายอย่างควบคู่กันไป อาทิ การตลาด จิตวิทยา และการใช้งาน

ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง เทรนเนอร์และที่ปรึกษาด้านการตลาดออนไลน์  การ Collaboration ให้ประโยชน์ทั้งแบรนด์และตัวศิลปิน ได้แสดงออกถึงตัวตนร่วมกัน แชร์ฐานผู้ติดตามของกันและกัน เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนใหม่ๆ และยังเป็นพื้นที่แสดงผลงานที่ใหญ่ขึ้นสำหรับศิลปินด้วย

 

  • Collaboration สร้างสรรค์เพื่อสังคม

ศิลปินคู่พี่น้อง ยายเพิ้งกับนายพราน เพิ้ง-จิตตกานต์ สุวรรณภัฏ ศิลปินอิสระ ทำงานศิลปะร่วมกับศิลปินนายพราน น้องชายออทิสติก “ศิลปะมันคือชีวิต เพิ้งรู้จักนายพรานเป็นอย่างดีเพราะเขาเป็นน้องเรา เมื่อเพิ้งกับนายพรานได้ร่วมทำงานกัน มันกลายเป็นหนึ่งที่ลงตัว”  ศิลปินที่เข้าใจกัน ผ่านการทดลอง และพัฒนางานที่ทำร่วมกัน ในที่สุดจะได้ผลงานที่มีเอกลักษณ์ที่เหนือความคาดหมาย

ธวัชชัย สมคง ผู้ทรงคุณวุฒิระดับแนวหน้าในวงการศิลปะไทย “การ Collaboration ของศิลปินเริ่มต้นตั้งแต่แนวความคิด วิธีการ และการนำเสนอ ที่ต้องการทลายข้อจำกัดแบบเดิมๆ”  วงการศิลปะจะพัฒนาไปสู่อีกขั้นจากการ Collaboration

เมื่อศิลปะไร้ขอบเขต ศิลปินก็ต้องไร้ขีดจำกัด NFT และ Collaboration ไม่ใช่แค่ทางรอดแต่เป็นโอกาสไปได้ไกลอย่างไร้ขีดจำกัด

สำหรับศิลปินและผู้ที่สนใจ สามารถรับชมคลิปวิดีโอละเอียดได้ที่ https://www.uob.co.th/uobandart/art-around/art-in-action.page

You may have missed