กันยายน 20, 2024

บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ ประเทศไทย ยืนยัน ผลิตภัณฑ์กันแดด นีเวีย ซัน และ ยูเซอริน ปราศจาคสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการัง เข้าอุทยานแห่งชาติได้ มั่นใจไม่เสี่ยงถูกปรับ 100,000 บาท

บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ ประเทศไทย
ยืนยัน ผลิตภัณฑ์กันแดด นีเวีย ซัน และ ยูเซอริน
ปราศจาคสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการัง เข้าอุทยานแห่งชาติได้
มั่นใจไม่เสี่ยงถูกปรับ 100,000 บาท

เนื่องจากปัจจุบัน มีนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติทางทะเลจำนวนมาก รวมทั้งมีการนำและใช้ครีมกันแดดที่มีสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อปะการัง และสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ยืนยันว่ามีสารเคมีหลายชนิดที่พบในครีมกันแดดที่นักท่องเที่ยวใช้รวมกันกว่า 14,000 ตันต่อปีในท้องทะเลทั่วโลกที่มีส่วนทำให้แนวปะการังเสื่อมโทรมลง ทั้งยังทำลายปะการังวัยอ่อน ทำลาย DNA จนปะการังไม่สามารถขยายพันธุ์ ตลอดจนทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวอีกด้วย ล่าสุดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จึงได้ประกาศห้ามนำและใช้ครีมกันแดดตามที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าในอุทยานแห่งชาติ โดยสารทั้งสี่ชนิด ได้แก่
สารกรองรังสียูวี Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3)
สารกรองรังสียูวี Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate)
สารกรองรังสียูวีบี 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC)
สารกันเสีย Butylparaben

บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตครีมกันแดดยี่ห้อ นีเวีย ซัน และยูเซอริน ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ปะการังเสมอมา และเป็น “ความห่วงใย” ที่บริษัทฯ คำนึงถึงมากที่สุดในการดำเนินธุรกิจ ทั้งต่อลูกค้าและสิ่งแวดล้อม โดยสาร 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) และ Butylparaben นั้นไม่ได้เป็นสารพื้นฐานที่บริษัทฯใช้มาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว และตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา ทางไบเออร์สด๊อรฟ ได้เริ่มนำสารกรองรังสียูวี Oxybenzone และ Octinoxate ที่เป็นส่วนผสมหลักที่เป็นอันตรายต่อปะการังออกจากผลิตภัณฑ์กันแดดทั้งหมดจนครบทุกผลิตภัณฑ์ในปี 2020 บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญในการติดตามและสนับสนุนงานวิจัยผลกระทบของสารกันแดดต่อสิ่งแวดล้อมนี้อย่างใกล้ชิด เพราะความปลอดภัยและความอ่อนโยนต่อผิว คือสิ่งสำคัญอันดับหนึ่งในการเลือกสารกรองรังสียูวีแต่ละชนิดมาใช้ในผลิตภัณฑ์กันแดดของบริษัทฯ ดังนั้นทางไบเออร์สด๊อรฟจึงเลือกสรรเฉพาะสารกรองรังสียูที่ได้มาตรฐานตามกฏการควบคุมเครื่องสำอางของทวีปยุโรป (EU Cosmetic Regulation) อีกทั้งยังต้องมั่นใจในประสิทธิภาพการกรองรังสียูวีเพื่อการปกป้องผิวในระดับสูงสุด และขอรับรองว่า ผลิตภัณฑ์กันแดดทั้งนีเวีย ซันและ ยูเซอริน ไม่มีส่วนผสมของ Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3), Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate), 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC), Butylparaben ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อปะการัง นอกจากนี้ ไบเออร์สด๊อรฟ ยังคงมุ่งมั่นที่จะวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กันแดดทั้งนีเวีย ซัน ยูเซอรินอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

ในส่วนของผลิตภัณฑ์กันแดด นีเวีย ซัน นั้น บริษัทฯ เริ่มให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกครีมกันแดดที่ไม่มีสารที่เป็นอันตรายต่อปะการังกับผู้บริโภคมาตั้งแต่ปี 2019 โดยทำการสื่อสารผ่านสื่อดิจิตัล เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ถึงข้อมูลอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ที่บริเวณท่าเที่ยบเรืออ่าวฉลอง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นจุดที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวทะเลเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ทั้งยังมีการตั้งจุดทำกิจกรรมเล่นเกมส์เพื่อให้ความรู้และประชาสัมพันธ์แก่นักท่องเที่ยวเกี่ยวกับความสำคัญและการร่วมกันรักษ์ปะการังโดยยังได้มีการเชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดภูเก็ต นักธุรกิจในแวดวงดำน้ำและครูสอนดำน้ำระดับมาสเตอร์มาร่วมงานเพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้างอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดของนีเวีย ซัน ที่เป็นสูตรกันน้ำเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาพักผ่อนตามเมืองชายหาด ดังนั้น ไบเออร์สด๊อรฟ จึงเห็นความสำคัญในจุดนี้ นอกจากนี้ยังได้มีการให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยผ่านสื่อการตลาดดิจิตัลในรูปแบบภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน

สำหรับข่าวราชกิจจานุเบกษาประกาศการห้ามนำเข้าและใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีทั้งสี่ชนิดที่กล่าวนั้น ทาง ไบเออร์สด๊อรฟ ไม่ได้รู้สึกตระหนกกับประกาศห้ามครั้งนี้ เนื่องจากข้อมูลด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ทางแบรนด์ได้ทำการสื่อสารมาตลอดหลายปี โดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยวทางทะเล ทั้งนี้พลังเสียงในการสื่อสารออกไปของแบรนด์ผู้ผลิตสินค้าอาจไม่สามารถสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้แก่ผู้บริโภคได้เพียงพอ ดังนั้นข่าวข้อประกาศห้ามตามราชกิจจานุเบกษาจึงนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นอันดีที่ช่วยให้คนไทยได้เข้าใจถึงผลกระทบนี้อย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์นีเวีย ซัน ที่ผลิตตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป และยูเซอริน จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่าเป็นครีมกันแดดที่ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมตามข้อประกาศห้ามดังกล่าว และสามารถนำเข้าและใช้ในอุทยานแห่งชาติได้อย่างมั่นใจ ไม่ถูกปรับ 100,000 บาทอย่างแน่นอน

 

You may have missed