กันยายน 20, 2024

“กตป. กสทช. กิจการโทรทัศน์ ผนึกความร่วมมือร่วมกับ เกษตรศาสตร์” ประชุมสนทนากลุ่มรับฟังความเห็นผู้ประกอบการและภาคประชาชนฯ เพื่อยื่นข้อสรุป เร่งพัฒนา กสทช. เพื่อประโยชน์ของประชาชน

“กตป. กสทช. กิจการโทรทัศน์ ผนึกความร่วมมือร่วมกับ เกษตรศาสตร์” ประชุมสนทนากลุ่มรับฟังความเห็นผู้ประกอบการและภาคประชาชนฯ เพื่อยื่นข้อสรุป เร่งพัฒนา กสทช. เพื่อประโยชน์ของประชาชน

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 ดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ด้านกิจการโทรทัศน์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ปรึกษาโครงการการจ้างที่ปรึกษาเพื่อการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลตามนโยบายที่สำคัญ ด้านกิจการโทรทัศน์ ประจำปี 2566  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นตัวแทนจากผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ  ภาคเอกชน และประชาชน อาทิ สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) WorkPoint 23  Mono34  One31 NBT11  NationTV 22  True4U  True Group  MCOTHD  สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย สื่อมวลชน และประชาชน เข้าร่วมจำนวน 40 คน ห้องประชุมดินแดง ชั้น 4 โรงแรมปริ้นซ์ตัน กรุงเทพฯ

ดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร ในฐานะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานด้านกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า การรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในครั้งนี้นั้น เป็นการติดตามและประเมินผลในด้านความหลากหลายทางพหุนิยมของกิจการโทรทัศน์ หรือ Diversity and Pluralism ซึ่งในนิยามของ UN ซึ่งกล่าวถึงการพัฒนากิจสื่อ และกิจการโทรทัศน์ที่เหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้มิติด้านการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ การส่งเสริมความหลากหลาย  นอกจากนี้เป็นการศึกษาการปรับตัวของอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ในประเทศไทยภายใต้บทบาทของสื่อโทรทัศน์ในภูมิทัศน์สื่อใหม่ และเพื่อศึกษามุมมองของผู้รับชมเกี่ยวกับบทบาท นอกจากนี้ยังรวมถึงการศึกษาบทบาทของผู้ผลิต ผู้ประกอบ ผู้ที่เกี่ยวข้องในกิจการโทรทัศน์ในมิติต่าง ๆ ประกอบด้วย

  • ทิศทางและบริบทแวดล้อมในพหุนิยมของกิจการโทรทัศน์
  • การสร้างศักยภาพทางวิชาชีพ และการเอื้อต่อเสรีภาพในการแสดงออก
  • แผนการดำเนินงานและแนวทางสู่ความยั่งยืนของ กสทช. เช่น ทีวีที่มีเนื้อหาเฉพาะ เช่น ทีวีช่องการศึกษา ช่องกีฬา ช่องศาสนา ช่องรัฐสภา กลุ่มทีวีชุมชนเพื่อให้สามารถตอบโจทย์พหุนิยมและความยั่งยืน
  • แนวทางการสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมในการเข้าถึงโทรทัศน์ในกลุ่มผู้พิการและกลุ่มเฉพาะ
  • แผนการส่งเสริมและรับมือของกสทช. ต่อผู้ประกอบการในกิจการโทรทัศน์หลังการสิ้นสุดอายุใบอนุญาตในปี 2572
  • การรับมือต่อการก้าวเข้าสู่ยุคของ Digital Disruption ต่อการประกอบกิจการโทรทัศน์ ของกลุ่มผู้ประกอบการ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชน

ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การตอบคำถามในเรื่องของ Diversity and Pluralism ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดในวันนี้ ทางกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ด้านกิจการโทรทัศน์ และคณะฯ โดยคณะที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะเป็นผู้เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักวิชาการ เพื่อจัดทำรายงานสรุปการดำเนินงาน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และจะนำส่งรัฐสภา และเผยแพร่ต่อสาธารณชนในช่องทางต่างๆ ต่อไป

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

คุณอภิญญาภัสฐ์ สุนทรวิจิตร  เบอร์โทร 089-4569450

You may have missed