พฤศจิกายน 14, 2024

Taiwan Excellence ประกาศ 17 ทีม เข้ารอบรองชนะเลิศ โครงการ “Go Green with Taiwan”

Taiwan Excellence ประกาศ 17 ทีม เข้ารอบรองชนะเลิศ โครงการ “Go Green with Taiwan”

โครงการ “Go Green with Taiwan” ประกาศรายชื่อ 17 ทีมที่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศจาก 12 ประเทศ ได้แก่ เคนยา แคนาดา สหราชอาณาจักร ลักเซมเบิร์ก ฮังการี ยูเครน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินเดีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย
โครงการนี้เปิดรับผลงานตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน ถึง 31 สิงหาคม 2567 โดยมีผู้ส่งแผนงานรวม 396 ราย จาก 45 ประเทศ ซึ่งประเทศที่มีส่วนร่วมมากที่สุดได้แก่ เวียดนาม อินเดีย ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ ไทย มาเลเซีย
สหราชอาณาจักร และอินโดนีเซีย
สำหรับโครงการ “Go Green with Taiwan” จัดโดยกรมการค้าระหว่างประเทศ (TITA) ภายใต้กระทรวงเศรษฐกิจ (MOEA) และดำเนินการโดยสภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกไต้หวัน (TAITRA) มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้บุคคล สถาบันสังคม และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ร่วมส่งไอเดียที่ใช้ผลิตภัณฑ์และโซลูชันสีเขียวของไต้หวันเพื่อทำให้โลกดีขึ้น สะท้อนถึงความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสีเขียวของไต้หวัน ตลอดจนความมุ่งมั่นของไต้หวันในการพัฒนาความยั่งยืนระดับโลก
ผลงาน 6 ทีมที่เข้ารอบสุดท้ายจะประกาศในวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้ โดยผู้เข้ารอบสุดท้ายจะได้เดินทางไปร่วมแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศที่ไต้หวัน โดยสมาชิกในทีมสูงสุด 2 ท่าน จะได้รับตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัด ไป-กลับ ไต้หวัน พร้อมที่พักฟรี และโอกาสดูงานเพื่อเรียนรู้การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนของไต้หวัน และ ผู้ชนะ 3 อันดับสุดท้าย จะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 700,000 บาท ซึ่งจะประกาศผลในวันที่ 11 ธันวาคม 2024

 

ทั้งนี้ รายชื่อ 17 ทีมที่เข้ารอบรองชนะเลิศจากทั่วโลก ได้แก่
• “การศึกษาเกี่ยวกับการใช้วัสดุรูพรุนในกระบวนการทำความเย็นแบบระเหย” จากฮังการี เน้นเศรษฐกิจหมุนเวียน การจัดเก็บพลังงาน วัสดุก่อสร้างสีเขียว และอาคารอัจฉริยะ
• “แฟชั่นดิจิทัล: เปลี่ยนโลกแฟชั่นเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน” จากสหราชอาณาจักร เน้นเศรษฐกิจหมุนเวียนและอื่น ๆ – อุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอ
• “การใช้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ามือสองในภาคพลังงานของยูเครน” จากยูเครน เน้นเศรษฐกิจหมุนเวียน การจัดเก็บพลังงาน รถ

 

ยนต์ไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม
• “ไต้หวันส่องแสงให้พลังงานแสงอาทิตย์แบบออฟกริดด้วย d. Light” จากสหราชอาณาจักร เน้นการจัดเก็บพลังงาน วัสดุก่อสร้างสีเขียว ไฟ LED พลังงานแสงอาทิตย์ และอาคารอัจฉริยะ
• “เส้นทางสู่การเป็นเวียดนามปลอดพลาสติก: การกำจัดพลาสติกใช้แล้วทิ้งและส่งเสริมการรีไซเคิล” จากเวียดนาม เน้นเศรษฐกิจหมุนเวียนและการรีไซเคิลพลาสติก
• “เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันแก๊ส ND 2000 แบบยืดหยุ่น” จากอินเดีย เน้นในอุตสาหกรรมพลังงานชีวมวล การจัดเก็บพลังงาน ไฮโดรเจน และไมโครกริด
• “ประสิทธิภาพพลังงานระดับโลก” จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เน้นการจัดเก็บพลังงาน ไมโครกริด พลังงานแสงอาทิตย์ และอาคารอัจฉริยะ
• “แนวทางแก้วิกฤติพลาสติก: วัสดุทดแทนจากอ้อยที่ย่อยสลายได้” จากฟิลิปปินส์ เน้นเศรษฐกิจหมุนเวียนและอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร
• “ส่งเสริมนโยบายการวางผังเมืองเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืนในโฮจิมินห์ – ความร่วมมือระหว่างไต้หวันและเวียดนาม” จากเวียดนาม เน้นรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า และพลังงานแสงอาทิตย์

 

• “ลดการปล่อยคาร์บอนด้วยการส่งเสริมการใช้พลังงานอัจฉริยะในครัวเรือน” จากสหราชอาณาจักร เน้นการจัดเก็บพลังงาน รถยนต์ไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ และอาคารอัจฉริยะ
• “GreenCycle: นวัตกรรมไต้หวันที่เปลี่ยนเศษไม้ให้เป็นพลังงานหมุนเวียน” จากแคนาดา เน้นอุตสาหกรรมพลังงานชีวมวลและเศรษฐกิจหมุนเวียน
• “แพลตฟอร์มที่แชร์เดินทางร่วมกันและการใช้โทเค็นของ Custowner” จากลักเซมเบิร์ก เน้นเศรษฐกิจหมุนเวียนและรถยนต์ไฟฟ้า
• “AgroSentinel: การเกษตรแม่นยำจากไต้หวันเพื่ออนาคตยั่งยืนในควิเบก” จากแคนาดา เน้นเศรษฐกิจหมุนเวียน การจัดเก็บพลังงาน ไมโครกริด พลังงานแสงอาทิตย์ การบำบัดน้ำ และเทคโนโลยีการเกษตร
• “จากสับปะรดสู่เครื่องหนังเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน” จากเคนยา เน้นเศรษฐกิจหมุนเวียน
• “การบูรณาการพลังงานสีเขียว: ใช้โซลูชันของไต้หวันเพื่อความยั่งยืนในแคมบริดจ์” จากสหราชอาณาจักร เน้นเศรษฐกิจหมุนเวียน การจัดเก็บพลังงาน รถยนต์ไฟฟ้าสองล้อ รถยนต์ไฟฟ้า ไฟ LED ไมโครกริด พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม
• “การสร้างสรรค์พลังงานสีเขียว: นวัตกรรมของไต้หวันเพื่อความยั่งยืนร่วมกับ WeavInsight” จากสิงคโปร์ เน้นอุตสาหกรรมพลังงานชีวมวล เศรษฐกิจหมุนเวียน การจัดเก็บพลังงาน รถยนต์ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้างสีเขียว ไมโครกริด พลังงานแสงอาทิตย์ อาคารอัจฉริยะ และการบำบัดน้ำ
• “Green Footsteps – สร้างชุมชนนักวิ่งที่ใช้รองเท้าที่ทำจากเศรษฐกิจหมุนเวียน” จากมาเลเซีย เน้นเศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการขยะ

โครงการ “Go Green with Taiwan” เป็นแคมเปญระดับโลกที่มุ่งค้นหาแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาสังคมท่ามกลางความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม โครงการนี้สะท้อนถึงความร่วมมือทางเทคโนโลยีของไต้หวันในการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ โดยเปิดโอกาสให้บุคคล องค์กร และ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NGOs) ส่งแนวคิดที่ใช้ผลิตภัณฑ์หรือโซลูชันของไต้หวันเพื่อสร้างโลกที่ดีกว่า

สำหรับตัวแทนจากประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการและส่งแผนงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจหมุนเวียน, การกักเก็บพลังงาน, อาคารอัจฉริยะสีเขียว, ยานยนต์ไฟฟ้า, วัสดุก่อสร้างสีเขียว และการบำบัดน้ำ ถือเป็นการสร้างแรงบันดาลใจสำคัญ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมแนวคิดด้านความยั่งยืนและเทคโนโลยี
สีเขียว ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคต ประสบการณ์ที่ได้รับจากเวทีระดับนานาชาตินี้จะช่วยปูทางให้ประเทศไทยก้าวสู่บทบาทที่โดดเด่นยิ่งขึ้นในการพัฒนาและนำเสนอแนวคิดเพื่อความยั่งยืนในเวทีโลก สร้างความเชื่อมั่นว่าความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

You may have missed