เมษายน 20, 2025

สุดล้ำ!! เปิดมิติใหม่ในแวดวงภาษาอาหรับ ศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ องค์กร Sheikh Hamad Award for Translation and International Understanding จัดสุดยอดงานสัมมนาต้อนรับปี 2025 ด้วยงาน “Sheikh Hamad Award in Thailand: สุดยอดนักแปลตำราภาษาอาหรับ” ในวันที่ 9 มกราคม 2025 ณ หอประชุมวิชาการนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกริก

สุดล้ำ!! เปิดมิติใหม่ในแวดวงภาษาอาหรับ ศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ องค์กร Sheikh Hamad Award for Translation and International Understanding จัดสุดยอดงานสัมมนาต้อนรับปี 2025 ด้วยงาน “Sheikh Hamad Award in Thailand: สุดยอดนักแปลตำราภาษาอาหรับ” ในวันที่ 9 มกราคม 2025 ณ หอประชุมวิชาการนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกริก


ภายในงานสัมมนา ศาสตราจารย์ ดร.จรัญ มะลูลีม รองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงาน และท่านยังได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานงานในครั้งนี้ ที่จัดขึ้นเพื่อให้ชาวไทยได้ทำความรู้จักกับองค์กร Sheikh Hamad Award for Translation and International Understanding ที่มาเยือนไทยในครั้งนี้ และเพื่อรวมนักแปลตำราภาษาอาหรับ ทำความรู้จักซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนความรู้วิชาการ ตลอดจนการรวบรวมตำราแปลภาษาอาหรับเพื่อจัดแสดงภายในงาน แสดงศักยภาพของนักวิชาการ นักแปลตำราภาษาอาหรับชาวไทย ที่ไม่เป็นสองรองใครในระดับนานาชาติ

 


แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานโดยท่านกล่าวแสดงความยินดีที่แขกผู้มีเกียรติ บรรดานักแปลต่างให้ความสนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก และประทับใจเป็นอย่างมากที่ได้พบตำราแปลจากภาษาอาหรับเป็นจำนวนมากถูกจัดแสดงภายในงาน

 


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อับดุลเลาะ หนุ่มสุข ผู้แทนจุฬาราชมนตรี และผู้อำนวยการสถาบันวะซะฏียะฮ์เพื่อสันติภาพและการพัฒนา สำนักจุฬาราชมนตรี บรรยายพิเศษถึงบทบาทความสำคัญของงานแปลในการพัฒนา และความก้าวหน้าประชาชาติ
Mr.Ali Saad Al-Muhannadi Charge d’Affaires of Embassy of the State of Qatar, Bangkok
ปาฐกถาถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ และท่านยังได้กล่าวชื่นชมมหาวิทยาลัยเกริกที่ได้จัดงานที่มีคุณค่าเช่นนี้ขึ้น
การจัดงานในครั้งนี้นับเป็นมิติใหม่ของวงการภาษาอาหรับที่บรรดานักแปลตำราภาษาอาหรับจากทุกสารทิศ หลากหลายสถาบัน ได้มารวมตัวกัน ตำราภาษาอาหรับที่แปลเป็นไทยมากมายหลายร้อยเล่ม จากหลากหลายแขนงวิชา ถูกรวมไว้ในที่เดียวกัน ชีวประวัติของนักแปลทั้งรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ถูกนำเสนอให้ได้รู้จักในงานครั้งนี้

 


การเสวนาวิชาการภายใต้หัวข้อหลัก “สถานะของภาษาอาหรับและการแปลสู่ภาษาต่างๆ ของโลก ระหว่างการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และปฏิสัมพันธ์ทางอารยธรรม โดยผู้ร่วมเสวนาได้แก่ผู้แทนจากกาต้าร์และผู้ทรงคุณวุฒิภาษาอาหรับในประเทศไทย
– “สะพานแห่งสันติภาพ: พันธกิจของ Sheikh Hamad Award for Translation and International Understanding ในการเชื่อมโยงการสื่อสารทางความคิด”
โดย ศาสตราจารย์ ดร.ฮะนาน อัลฟะยาด อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยกาต้าร์ และที่ปรึกษาสื่อสารองค์กร ของ Sheikh Hamad Award for Translation and International Understanding
– “ประวัติความเป็นมาของการแปลภาษาอาหรับ และบทบาทในการกระตุ้นการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม”
โดย ดร. อิมตินาน อัซซอมาดี อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยจอร์แดน และคณะสื่อสารองค์กร ของ Sheikh Hamad Award for Translation and International Understanding
-“ความท้าทายและการปรับตัวที่บรรดานักแปลต้องเผชิญในยุคดิจิตอล”
โดย ดร. ปริญญา ประหยัดทรัพย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี และรองประธานที่ปรึกษาศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก
-“ความเป็นจริงของการแปลภาษาอาหรับในประเทศไทย ความท้าทาย และอุปสรรคปัญหา”
โดย ดร. ทิวากร แย้มจังหวัด ผู้อำนวยการสถาบันอัลคิบละฮ์อคาเดมี่

 

อนึ่ง Sheikh Hamad Award for Translation and International Understanding เป็นองค์กรที่ส่งเสริม สนับสนุน การแปลตำราภาษาอาหรับในระดับนานาชาติ โดยที่ในทุกๆ ปีจะมีการจัดประกวดผลงานแปลตำราภาษาอาหรับ และจัดพิธีมอบรางวัลอันยิ่งใหญ่ให้แก่นักแปลจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นจากภาษาอาหรับ สู่ภาษาอื่นๆ หรือจากภาษาอื่นๆ สู่ภาษาอาหรับ โดยที่งานครั้งที่ 11 ประจำปี 2025 ภาษาไทยได้ถูกเลือกเป็นหนึ่งในภาษาสำหรับการประกวด และมีรางวัลรวมมูลค่ามากกว่า 3 ล้านบาท


ศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ดูแล Sheikh Hamad Award for Translation and International Understanding ในการมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้อย่างเป็นทางการ และทำหน้าที่สำคัญในการเป็นสะพานเชื่อมโยงไปยังนักแปลตำราภาษาอาหรับทั่วราชอาณาจักรไทย

#BALC ศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก
#IICB วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก
#มหาวิทยาลัยเกริก Krirk University

You may have missed

“กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค หรือ KJL” ลุยเปิดศักราชใหม่ด้วยไลน์ผลิตภัณฑ์ระบบไฟฟ้ารุ่นล่าสุด “Pull Box ชุบกัลวาไนซ์” ทั้งแบบเหล็กหนา 1.6 และ 1.2 มม. รับมือทุกหน้างานจากอาคารพาณิชย์ถึงโรงงานใหญ่ พร้อมตอบโจทย์ช่างมืออาชีพในยุคที่คุณภาพต้องมาก่อน รองรับตลาดระบบไฟฟ้าเติบโตต่อเนื่อง ตั้งเป้าเจาะกลุ่มลูกค้าโครงการอาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และโครงการระดับเมกะโปรเจกต์ทั่วประเทศ นายเกษมสันต์ สุจิวโรดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค จำกัด (มหาชน) หรือ KJL ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าชั้นนำของประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงไรมาสแรก ปี 2568 บริษัทฯ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ “Pull Box ชุบกัลวาไนซ์” 2 รุ่นใหม่ล่าสุด ประกอบด้วย Pull Box ชุบกัลวาไนซ์ – เหล็กหนา 1.6 มม. เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมรุนแรง กล่องผลิตจากเหล็กคุณภาพสูง เคลือบกันสนิมแบบกัลป์วาไนซ์ทั้งภายในและภายนอก Pull Box ชุบกัลวาไนซ์ – เหล็กหนา 1.2 มม. รุ่นมาตรฐานที่เน้นความคล่องตัว ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบากว่า แต่ยังคงความแข็งแรง เหมาะสำหรับงานติดตั้งทั่วไปในโครงการ อาคารพาณิชย์ และระบบภายในอาคารทั้ง 2 รุ่นผ่านการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้า KJL ทุกชิ้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง “ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้เป็นอีกก้าวสำคัญของ KJL ในการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้ใช้งานระบบไฟฟ้าในทุกระดับ เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนา Pull Box ให้มีความแข็งแรง ปลอดภัย กันสนิม และติดตั้งง่าย เพื่อตอบรับความต้องการของโครงการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองรุ่นดังกล่าวได้ผ่านการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และกระบวนการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้า KJL ทุกชิ้นสามารถรองรับการใช้งานจริงในทุกสภาพแวดล้อม และพร้อมวางจำหน่ายวันนี้ทั่วประเทศ” นายเกษมสันต์ กล่าว