เมษายน 19, 2025

รมว. ศึกษาเร่งประกาศเกียรติคุณแก่นักเรียนผู้แทนชนะโอลิมปิควิชาการจากประเทศอินโดนีเซีย

รมว. ศึกษาเร่งประกาศเกียรติคุณแก่นักเรียนผู้แทนชนะโอลิมปิควิชาการจากประเทศอินโดนีเซีย


กรุงเทพมหานคร : 10 กุมภาพันธ์ 2568 : บริษัท ไมราห์ อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด , โรงเรียนกวดวิชาเอซายน์หรือ วิทย์ครูป้อม ASCI (ภายใต้การควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ) จัดพิธีมอบรางวัลเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่นักเรียนผู้แทนประเทศไทยที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ และระดับนานาชาติ รวมทั้งผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน โดยมี พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นประธานในพิธี และมอบโล่รางวัล
โครงการ ASMOPSS THAILAND เป็นความร่วมมือระหว่าง โรงเรียนกวดวิชาเอซายน์ (โรงเรียนเอกชนนอกระบบภายใต้การควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ) และ บริษัท ไมราห์ อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด ผู้ได้รับสิทธิ์ให้จัดการแข่งขันเพื่อคัดเลือกนักเรียนผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ ภายใต้โครงการ ASMOPSS Thailand เพื่อไปแข่งขันต่อระดับนานาชาติในโครงการ Asian Science & Mathematics Olympiad for Primary and Secondary Schools (ASMOPSS) หรือ แอสมอพส์ ซึ่งเป็นโครงการแข่งขันวิชาการเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับนานาชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เน้นทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นฐาน โดยที่ได้ความร่วมมือจาก 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม ทาจิกิสถาน กัมพูชา ปากีสถาน ซาอุดิอาระเบีย และเขตปกครองพิเศษฮ่องกง สำหรับในปี พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมาเป็นการส่งนักเรียนจากโครงการ ASMOPSS THAILAND เข้าแข่งขันเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งโครงการ ASMOPSS จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 14 โดยนักเรียนผู้แทนจากประเทศไทยได้รับรางวัลทั้งหมด 36 รางวัล


พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) กล่าวให้โอวาทภายในงานใจความตอนหนึ่งว่า

“ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เรียนดี มีความสุข มีเป้าหมายการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต การส่งเสริมให้นักเรียนที่มีศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มีความเป็นเลิศด้านวิชาการ จนสามารถไปเข้าร่วมการแข่งขัน และได้รับการรางวัลการันตีในระดับนานาชาตินั้น แสดงว่า นักเรียนแต่ละคน ต้องความมุ่งมั่น ตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียนรู้ ฝึกฝน และต้องมีความสุขกับสิ่งที่ทำ ขณะเดียวกันได้รับการส่งเสริม สนับสนุนทั้งจากผู้ปกครอง ครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน สิ่งที่รัฐมนตรีอยากฝากให้ทุกคนมี นั่นคือ มีความฉลาดรู้ ฉลาดคิด และฉลาดทำ ”

นางสาวพรพัชร แผลงเดช ประธานโครงการ ASMOPSS THAILAND กล่าวเพิ่มเติมถึงโครงการ ASMOPSS THAILAND ว่า “สำหรับในปี พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ทางโครงการได้จัดการสอบแข่งขันระดับประเทศ และระดับคัดเลือกผู้แทนประเทศด้วยมาตรฐานระดับสากล โดยมีนักเรียนจากทั่วประเทศผ่านการคัดเลือกเพื่อเป็นผู้แทนจากโครงการ ASMOPSS THAILAND เข้าร่วมแข่งขัน ASMOPSS 14 จำนวน 28 คน จากผู้เข้าแข่งขันประเภทบุคคลซึ่งเป็นผู้แทนจากประเทศอื่นๆทั้งหมด 136คน และประเภททีมทั้งหมด 37 ทีม จาก 10 ประเทศ โดยนักเรียนผู้แทนจากประเทศไทยได้รับรางวัลทั้งหมด 36 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลประเภทบุคคล 28 รางวัล (10 เหรียญทอง, 12 เหรียญเงิน , 6 เหรียญทองแดง) และ รางวัลประเภททีม 8 รางวัล (รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล , รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 4 รางวัล , รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 3 รางวัล) ถือว่าเป็นปีที่เราประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะนักเรียนผู้แทนที่เข้าแข่งขันได้รับรางวัลกลับมาให้คนไทยชื่นชมทุกคน รู้สึกภูมิใจมากๆ เพราะกว่าจะได้นักเรียนผู้แทนเพื่อส่งแข่งขันนั้น เราคัดเลือกกันอย่างเข้มข้นเพื่อให้ได้นักเรียนที่มีความสามารถมากที่สุดมาเป็นตัวแทนประเทศไทย และนอกจากนี้ทาง บริษัท ไมราห์ อินเตอร์ กรุ๊ป ก็ได้รับสิทธิ์และความไว้วางใจในการจัดสอบแข่งขันระดับนานาชาติในปีนี้อีกหลายรายการอีกด้วย

นายธนากร แผลงเดช (นายกสมาคมผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนนอกระบบ) กล่าวถึงการสนับสนุนและผลักดันโรงเรียนเอกชนนอกระบบว่า “สำหรับสมาคมผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนนอกระบบ เราพร้อมที่จะสนับสนุน ผลักดัน โรงเรียนนอกระบบภายใต้การควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการทุกประเภท ทั้งกวดวิชา สอนภาษา ดนตรี กีฬา เสริมทักษะชีวิต บริบาล และโรงเรียนสอนอาชีพต่างๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเยาวชนของชาติให้มีคุณภาพ ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทยทุกช่วงวัย และพร้อมที่จะเติบโตไปเป็นพลังที่สร้างสรรค์สิ่งดีๆให้กับสังคมต่อไป สำหรับโครงการ ASMOPSS เป็นการแข่งขันวิชาการระดับนานาชาติที่ดีมากๆโครงการหนึ่งที่ครอบครัวและโรงเรียนเปิดใจ ช่วยกันสนับสนุนให้เด็กๆได้มีเวทีแสดงความสามารถด้านวิชาการ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สะท้อนความสำเร็จของเด็กไทยใน Gen นี้”


นอกจากนี้ภายในงานยังได้รับความร่วมมือจากสถานศึกษาเอกชนนอกระบบ เปิดบูธให้ความรู้และแนะนำหลักสูตรต่างๆเพื่อเป็นทางเลือกในการศึกษาเพิ่มเติม และสร้างพลังสนับสนุนเยาวชนไทยใส่ใจการศึกษา อาทิ บูธ Coaching English การใช้ Smart Learning App สอนภาษาอังกฤษ, บูธ Talent Detective โปรแกรมค้นหาตัวตนจากลายนิ้วมือด้วยเทคโนโลยีสุดทันสมัย, บูธ JCS แนะนำการเรียนภาษาญี่ปุ่นเพื่อทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น และ บูธสมาคมผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนนอกระบบ (APANE) เป็นต้น

นางมัญชุมาศ บุญชู โกคิง (ประธานคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนนอกระบบกรุงเทพมหานคร และ CEO บริษัท ทาเลนท์ ดีเทคทีฟ จำกัด) กล่าวทิ้งท้ายว่า “นวัตกรรมสมัยนี้สามารถช่วยให้เด็กได้รู้จักตัวตนมากขึ้น Talent Detective เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เด็กๆ รู้จักพรสวรรค์ของตัวเองและพัฒนาต่อยอด ซึ่งนอกจากโรงเรียนในระบบแล้วโรงเรียนนอกระบบที่เน้นในเรื่องของการดูแลผู้เรียนให้ได้ใช้พรสวรรค์และดึงสามารถของตัวเองมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะนำสู่อาชีพ อย่างมีความสุข”

การแข่งขันวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ASMOPSS (แอสมอพส์) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยโครงการ ASMOPSS THAILAND เป็นผู้จัดสอบเพื่อคัดเลือกนักเรียน จัดสอบรอบแรก (รอบประเทศ) ในเดือนสิงหาคม ส่วนรอบสอง (รอบคัดเลือกผู้แทนประเทศ) ช่วงต้นเดือนตุลาคม จะคัดเลือกนักเรียนที่ผ่านเข้ารอบตามเกณฑ์มาตรฐานระดับนานาชาติของ ASMOPSS เท่านั้น เพื่อคัดเลือกเป็นผู้แทนของประเทศไทย

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารจากโครงการ ASMOPSS THAILAND ได้ที่ Facebook : ASMOPSS THAILAND , Line Official : @asmopss.thailand หรือทาง https://asmopssthailand.com


รายชื่อนักเรียนผู้แทนประเทศไทยที่มีความสามารถเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
1. เด็กชายณธัช ปริยกนก โรงเรียนอนุบาลราชบุรี รางวัลเหรียญทอง ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม
2. เด็กชายนภัสรพี จารุเดชขจร โรงเรียนแสงทองวิทยา รางวัลเหรียญทอง ประเภทบุคคล
รางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม
3. เด็กชายปวีณ์กร ศรีรัตนวงศ์ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายประถม รางวัลเหรียญทอง ประเภทบุคคล รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม
4. เด็กชายเชษฐ์ภาคิน สมอ โรงเรียนอนุบาลระยอง รางวัลเหรียญเงิน ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม
5. เด็กชายปริญ นิติเกตุโกศล โรงเรียนดราก้อน อินเตอร์เนชั่นแนล รางวัลเหรียญเงิน ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม
6. เด็กชายชัชชวิน มาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ รางวัลเหรียญทองแดง ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม

รายชื่อนักเรียนผู้แทนประเทศไทยที่มีความสามารถเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
1. เด็กหญิงกวิณตร์เนตร วัฒนเชษฐ์ โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย รางวัลเหรียญทอง ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม
2. เด็กชายภาณุวิชญ์ ภาคาพรต โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม รางวัลเหรียญทอง ประเภทบุคคล รางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม
3. เด็กชายอลีฟ สามะ โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม รางวัลเหรียญทอง ประเภทบุคคล
รางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม
4. เด็กชายพลภัทร ทองธนะเศรษฐ์ โรงเรียน เซนต์คาเบรียล รางวัลเหรียญเงิน ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม
5. เด็กชายพบธรรม ลิขิตพงษ์วิทย์ โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ รางวัลเหรียญเงิน ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม
6. เด็กชายพัชรณัฐ คำภากุล โรงเรียนศรีสุวิช รางวัลเหรียญเงิน ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม
7. เด็กชายจิรภัทร อุทารวุฒิพงศ์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย รางวัลเหรียญทองแดง ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม
8. เด็กหญิงมิณต์ฌภัฏ สถิรประภากุล โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย รางวัลเหรียญทองแดง ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม

รายชื่อนักเรียนผู้แทนประเทศไทยที่มีความสามารถเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา
1. เด็กชายปุณณวิช อรุณศิริวัฒนา โรงเรียนแสงทองวิทยา รางวัลเหรียญทอง ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีม
2. เด็กชายธนนันท์ สุวรรณพันธุ์ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 รางวัลเหรียญเงิน ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม
3. เด็กชายพลภัทร วัฒนาอุดม โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม รางวัลเหรียญเงิน ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีม
4. เด็กชายวิรัฬพัชร์ สังข์ทิพย์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รางวัลเหรียญเงิน ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีม
5. เด็กชายนอคุน ตันติวิเชียร โรงเรียนแสงทองวิทยา รางวัลเหรียญทองแดง ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม
6. เด็กชายกฤติน บูรณะโรจน์ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี รางวัลเหรียญทองแดง ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีม

รายชื่อนักเรียนผู้แทนประเทศไทยที่มีความสามารถเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา
1. เด็กชายจิรภัทร บุญสิทธิผล โรงเรียน กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย รางวัลเหรียญทอง ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม
2. เด็กหญิงชาลิสา อัตต์สินทอง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒปทุมวัน รางวัลเหรียญทอง ประเภทบุคคล รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีม
3. เด็กหญิงณภัทร นรศาศวัต โรงเรียน ระยองวิทยาคม รางวัลเหรียญทอง ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีม
4. เด็กหญิงเนธิสดา ตั้งยิ่งยง โรงเรียนสุรวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รางวัลเหรียญเงิน ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภททีม
5. เด็กชายณัชพล ตั้งศรีสกุล โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย รางวัลเหรียญเงิน ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีม
6. เด็กชายปัณณ์ ต่ออุดม โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย รางวัลเหรียญเงิน ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีม
7. เด็กชายภูรินท์ ปรียงค์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รางวัลเหรียญเงิน ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีม
8. เด็กชายณัฐวัฒน์ ศุภมิตรโยธิน โรงเรียนสุรวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รางวัลเหรียญทองแดง ประเภทบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีม

#ASMOPSSTHAILAND #ASMOPSS #ไมราห์อินเตอร์กรุ๊ป #ไมราห์เอ็ดดูเคชั่น #สมาคมผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนนอกระบบ #การศึกษานอกระบบ #กระทรวงศึกษาธิการ #โรงเรียนกวดวิชาเอซายน์ #วิทย์ครูป้อมAsci #talentdetective #การศึกษา
#เด็กไทยวันนี้ #ข่าววันนี้

You may have missed

“กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค หรือ KJL” ลุยเปิดศักราชใหม่ด้วยไลน์ผลิตภัณฑ์ระบบไฟฟ้ารุ่นล่าสุด “Pull Box ชุบกัลวาไนซ์” ทั้งแบบเหล็กหนา 1.6 และ 1.2 มม. รับมือทุกหน้างานจากอาคารพาณิชย์ถึงโรงงานใหญ่ พร้อมตอบโจทย์ช่างมืออาชีพในยุคที่คุณภาพต้องมาก่อน รองรับตลาดระบบไฟฟ้าเติบโตต่อเนื่อง ตั้งเป้าเจาะกลุ่มลูกค้าโครงการอาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และโครงการระดับเมกะโปรเจกต์ทั่วประเทศ นายเกษมสันต์ สุจิวโรดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค จำกัด (มหาชน) หรือ KJL ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าชั้นนำของประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงไรมาสแรก ปี 2568 บริษัทฯ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ “Pull Box ชุบกัลวาไนซ์” 2 รุ่นใหม่ล่าสุด ประกอบด้วย Pull Box ชุบกัลวาไนซ์ – เหล็กหนา 1.6 มม. เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมรุนแรง กล่องผลิตจากเหล็กคุณภาพสูง เคลือบกันสนิมแบบกัลป์วาไนซ์ทั้งภายในและภายนอก Pull Box ชุบกัลวาไนซ์ – เหล็กหนา 1.2 มม. รุ่นมาตรฐานที่เน้นความคล่องตัว ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบากว่า แต่ยังคงความแข็งแรง เหมาะสำหรับงานติดตั้งทั่วไปในโครงการ อาคารพาณิชย์ และระบบภายในอาคารทั้ง 2 รุ่นผ่านการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้า KJL ทุกชิ้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง “ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้เป็นอีกก้าวสำคัญของ KJL ในการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้ใช้งานระบบไฟฟ้าในทุกระดับ เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนา Pull Box ให้มีความแข็งแรง ปลอดภัย กันสนิม และติดตั้งง่าย เพื่อตอบรับความต้องการของโครงการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองรุ่นดังกล่าวได้ผ่านการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และกระบวนการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้า KJL ทุกชิ้นสามารถรองรับการใช้งานจริงในทุกสภาพแวดล้อม และพร้อมวางจำหน่ายวันนี้ทั่วประเทศ” นายเกษมสันต์ กล่าว